วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแสดงบทตลก

     การแสดงบทตลกแตกต่างจากการแสดงบทชีวิตจริง นักแสดงจำเป็นต้องใช้พลังงานในการแสดงสูงมาก เหตุการณ์ต่าง ๆ ในสถานการณ์ขับขันในภาพยนตร์ตลกจะไม่มีความเป็นจริงเหมือนอย่างที่ถูกกำหนดไว้ในภาพยนตร์ชีวิต นักแสดงตลกมักจะเป็นคนที่มีความคิดแบบตลก ๆ สนุกสนานติดตัวอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นคนช่างเสียดสี เหน็บแนม ถากถางเยาะเย้ยชะตาชีวิต
     ดร.จี ศรีนิวาสัน ได้แจกแจงสาเหตุของความขบขัน ไว้ในหนังสือ สุนทรียศาสตร์ จำนวนเก้าข้อดังนี้
1. ความผิดกาละเทศะ เช่นในพิธีกรรมอันเคร่งเครียดกับความซุกซนไร้เดียงสาของเด็ก
2. ความผิดปกติธรรมดา เช่นท้องโตกว่าความเป็นจริง
3. ลักษณะท่าทางหรือคุณสมบัติบางอย่างของคนบางคน ลักษณะเช่นนี้จะกลายเป็นเรื่องขบขันก็ต่อเมื่อเราประมวลจุดเด่น ๆ ของบุคคลนั้นมาแสดงให้เห็นเป็นลักษณะเฉพาะตัวหรือสัญลักษณ์ของเขา เช่นทนายความวางท่าเหมือนกำลังซักลูกความอยู่ในศาล เวลาคุยกับลูกเมียที่บ้านจะกลายเป็นเรื่องน่าขบขันไป
4. ตลกเชิงเย้ยหยันสังคม แสดงถึงความเลวทรามบางอย่างของสังคม เมื่อเราได้เห็นเราก็จะรับรู้ความเลวทราบนั้นด้วยการหัวเราะเยาะออกมา เช่นคนบางคนที่แสดงว่าตนมีอุดมคติสูงส่งแต่กลับมีกริยาท่าทางบ้องตื้น
5. เหตุการณ์ที่มิได้คาดคิดไว้ก่อน เช่นใครคนหนึ่งเดินไปด้วยท่าทีสง่างามแล้วเกิดลื่นล้มอย่างไม่เป็นท่า มักเป็นอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย จะหัวเราะไม่ออก กลายเป็นนึกสงสาร
6. ความขัดแย้งกันระหว่างคุณสมบัติของบุคคลกับสถานการณ์ที่เขากำลังเกี่ยวข้องอยู่ เช่นคนขี้ขลาดแสดงท่าทางยโสโอหัง ไม่เกรงกลัวใคร พอต้องสู้รบจริง ๆ ถึงกับเป็นลม
7. เรื่องไรสาระหาความจริงไม่ได้ เป็นเรื่องตอบสนองความเป็นเด็กที่มีอยู่ในตัวของเรา (ซิกมันด์ ฟรอยด์)
8. การพยายามใช้ความพยายามมากกว่าปกติธรรมดา เช่นคนพูดติดอ่าง (ซิกมันด์ ฟรอยด์)
9. ความคลี่คลายของเหตุการณ์อย่างไม่คาดคิด เรื่องกำลังดำเนินไปจนเกือบถึงจุดสุดยอดของอารมณ์อยู่แล้ว
      เหตุการณ์แบบเบา ๆ ก็เกิดแทรกขึ้นอย่างไม่คาดคิด ทำให้เหตุการณ์ตึงเครียดนั้นผ่อนคลายลง
ผลก็คือมนุษย์จะรู้สึกได้รับการผ่อนคลายความตึงเครียดแล้วก็เกิดความรู้สึกขบขันขึ้นมาแทน เช่นผู้โดยสารหาตั๋วไม่เจอ ตกใจมากเมื่อคนตรวจตั๋วกำลังเดินเข้ามา แต่แล้วก็รู้สึกโล่งใจเพราะตั๋วหล่นอยู่ที่เท้า จึงยิ้มออกมาด้วยความโล่งใจ (สุเชาว์ พลอยชุม แปลและเรียบเรียง, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหากุฎราชวิทยาลัย, 2534, หน้า 60)
นอกจากนี้ยังมีนักคิดท่านอื่น คือ แบคซอง (Bergson) ได้แยกความขบขันออกเป็นสามประเภทคือ
1. ความขบขันในเหตุการณ์
2. ความขบขันในคำพูด คำแผลง สำบัดสำนวน การอ่านไม่ออก
3. ความขบขันในลักษณะท่าทาง ท่าทางไม่เข้ากับเหตุการณ์ เพราะติดนิสัยที่เป็นความเคยชิน
4. ความขบขันเชิงกระทบกระเทียบเปรียบเปรยจึงมีลักษณะเป็นการ "ทำให้เจ็บแสบหรืออับอาย" เกิดจากเจตนากลั่นแกล้งที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิตของทุกคน (ความประสงค์ร้าย)
5. ความขบขันเกิดจากความรู้สึกเกลียดชัง
6. ความขบขันเกิดจากความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ผลจากความรู้สึกสงสาร
7. ความขบขันจากเหตุการณ์แปลก ๆ แบบที่ไม่คาดคิด แบบโง่เขลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น