วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

                                                                                 เป้าหมายของการวิจัย          นงลักษณ์ วิรัชชัย (2543 : 48) ได้กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญของการวิจัย คือ เพื่อบรรยาย (describe) อธิบาย (explain) ทำนาย (predict) หรือควบคุม (control) ปรากฏการณ์ต่างๆอันจะช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์และสังคมให้ดีขึ้น และนิศารัตน์ ศิลปเดช (2542 : 7) ได้เสนอจุดมุ้งหมายของการวิจัยไว้ 3 ข้อ ดังนี้
          1. เพื่อการแก้ปัญหา (Problem Solution) ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักจะต้องมีปัญหาในด้านต่างๆเกิดขึ้นอยู่เสมอ การมีชีวิตอยู่รอดได้ หมายถึง การที่มนุษย์สามารถแก้ไขหรือเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น
          2. เพื่อสร้างทฤษฎี (Theory Formulating) วัตถุประสงค์ที่มนุษย์สร้างทฤษฎีขึ้นก็เพื่อนำไปอ้างอิง (Generalization) การอธิบาย (Explanation) การทำนาย (Prediction) และการควบคุม (Control) ปรากฏการณ์ต่างๆทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมมนุษย์
          3. เพื่อการตรวจสอบความรู้และทฤษฎี (Theory Testing) โดยที่มนุษย์ต้องการความแน่ใจว่า ความรู้หรือทฤษฎีต่างๆที่สร้างขึ้นมานั้น ยังสามารถนำไปใช้เช่นเดิมแม้ว่าเวลาจะผ่านไป หรือสิ่งต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปภายให้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติก็ตาม
           Meredith D. Gall Walter R. Borg and Joyce Pi Gall (1992 : 4-12) ได้กล่าวถึงความรู้หรือประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยทางการศึกษาว่าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้
          1. เพื่อพรรณนาความหรือบรรยาย (Description) การทำวิจัยเพื่อบรรยายสภาพธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ทางสังคม หรือความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น บรรยายสภาพการณ์ต่างๆทางการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นอย่างไร
          2. เพื่อทำนาย (Prediction) การวิจัยเพื่อทำนายปรากฏการณ์ทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้น เช่น X เป็นตัวทำนายเหตุการณ์ Y หรือไม่ หรืออย่างเช่นการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อจะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการศึกษา
          3. เพื่อปรับปรุง (Improvement) การวิจัยเพื่อปรับปรุงเป็นการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงสภาพการศึกษาให้ดีขึ้น
          4. เพื่ออธิบาย (Explanation) การวิจัยเพื่ออธิบายสภาพการณืท่างการศึกษา
       
          สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ เพื่อบรรยาย อธิบาย ทำนาย แลควบคุมสภาพการณ์ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น


การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์

การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์
1.      เชิงรุก
o    ต้องรู้ว่า เราต้องการอะไร
o    พูดกับใคร บรรยากาศเหมาะสมหรือไม่
o    ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีพร้อม ๆ กัน
o    บุคลิกภาพดี มาดต้องตา วาจาต้องใจ
o    ภายในเลิศล้ำ พฤติกรรมมีเสน่ห์
1.      เชิงรับ
o    มาดต้องตา วาจาต้องใจ
o    ยิ้มแย้ม อบอุ่นเป็นทุนที่มีค่า
o    ฟังมากกว่าพูด
o    รู้ว่าปัญหาคืออะไร
o    พูดอย่างมีศิลปะ
o    ดูกาลเทศะ มีไหวพริบปฏิภาณ
                                                 ของแข็งอสัณฐาน (amorphous solid)
     ของแข็งที่ไม่มีรูปผลึกหรือไม่มีรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน (ไม่มีการจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบของอนุภาคในของแข็งนั้น ๆ) มีจุดหลอมเหลวกว้าง (จริง ๆ แล้วควรจะเรียกว่าช่วงหลอมเหลว) กล่าวคือเมื่อทำการให้ความร้อนกับของแข็งอสัณฐานจนถึงอุณหภูมิหนึ่งของแข็งจะค่อย ๆ อ่อนตัวลงแล้วจึงเหลว ไหลไปมาได้ เช่น แก้ว ยาง พลาสติก สำหรับสมบัติบางอย่างของของแข็งอสัณฐานเช่น ดรรชนีหักเห การนำไฟฟ้า และอื่น ๆ เหมือนกันหมดทุกทิศทาง ลักษณะที่ไม่ขึ้นกับทิศทางนี้เรียกว่า ไอโซโทรปี (isotropy) 
       ในที่นี้จะกล่าวถึงของแข็งที่เป็นผลึกเท่านั้น โดยจะอธิบายในรูปของแลตทิซ ( lattice) ซึ่งเป็นการจัดเรียงแบบสามมิติในรูปของจุด (โดยให้จุดเป็นตัวแทนของอนุภาค) ซึ่งป็นรูปแบบซ้ำ ๆ กัน และจุดเหล่านี้คือจุดแลตทิซ (lattice point) จุดแลตทิซจะต้องมีสิ่งแวดล้อมเหมือนกับจุดอื่น ๆ ในทุกทิศทางที่เหมือนกัน โดยหน่วยซ้ำ ๆ กันที่เล็กที่สุดนี้จะเรียกว่า หน่วยเซลล์ ( unit cell)
ความสำคัญของดิน

.......... ดินมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในโลกนี้และมีความสำคัญต่อสภาพสิ่งแวดล้อมโลก สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ต้องอาศัยดินในการดำรงชีพ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม พืชเจริญเติบโตในดิน รากพืชดูดอาหารและน้ำจากดินโดยตรง ซึ่งจะเห็นพืชเหล่านี้ได้ทั่ว ๆ ไป พืชบางชนิดดูเหมือนอยู่ในอากาศ แต่รากพืชบางส่วนเกาะอยู่กับต้นพืชบางชนิด รากพืชเหล่านี้ก็ได้อาหารและน้ำจากต้นพืชที่เกาะอยู่ เช่น เถาวัลย์ กล้วยไม้น้ำ นับว่าเป็นการอาศัยพึ่งพิงดินโดยทางอ้อม สัตว์ดำรงชีพโดยอาศัยดินทางอ้อม พืชเป็นแหล่งอาหาร พลังงาน น้ำ ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และอากาศที่บริสุทธิ์ ที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีพของสัตว์ โดยเฉพาะมนุษย์ ซึ่งได้แหล่งอาหารและพลังงานจากพืช และสัตว์ที่อาศัยพืชหรือสัตว์อื่นเป็นอาหาร มนุษย์นำผลผลิตของพืชมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ฝ้าย นุ่น ฯลฯ มนุษย์นำต้นไม้ใหญ่มาดัดแปลงทำเป็นบ้านที่อยู่อาศัย เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดำรงชีพ ต้นไม้ พืชพรรณต่าง ๆ ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้วปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์และสัตว์ชั้นสูงทุกชนิดบนดินและในน้ำ หากโลกนี้ไม่มีพืชก็ไม่มีก๊าซออกซิเจน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้คงมีชีวิตอยู่ไม่ได้ หากไม่มีดินก็คงไม่มีพืชพรรณ และต้นไม้ใหญ่ที่จะทำหน้าที่เหล่านี้ ฉะนั้นดินจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกนี้

การแสดงบทตลก

     การแสดงบทตลกแตกต่างจากการแสดงบทชีวิตจริง นักแสดงจำเป็นต้องใช้พลังงานในการแสดงสูงมาก เหตุการณ์ต่าง ๆ ในสถานการณ์ขับขันในภาพยนตร์ตลกจะไม่มีความเป็นจริงเหมือนอย่างที่ถูกกำหนดไว้ในภาพยนตร์ชีวิต นักแสดงตลกมักจะเป็นคนที่มีความคิดแบบตลก ๆ สนุกสนานติดตัวอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นคนช่างเสียดสี เหน็บแนม ถากถางเยาะเย้ยชะตาชีวิต
     ดร.จี ศรีนิวาสัน ได้แจกแจงสาเหตุของความขบขัน ไว้ในหนังสือ สุนทรียศาสตร์ จำนวนเก้าข้อดังนี้
1. ความผิดกาละเทศะ เช่นในพิธีกรรมอันเคร่งเครียดกับความซุกซนไร้เดียงสาของเด็ก
2. ความผิดปกติธรรมดา เช่นท้องโตกว่าความเป็นจริง
3. ลักษณะท่าทางหรือคุณสมบัติบางอย่างของคนบางคน ลักษณะเช่นนี้จะกลายเป็นเรื่องขบขันก็ต่อเมื่อเราประมวลจุดเด่น ๆ ของบุคคลนั้นมาแสดงให้เห็นเป็นลักษณะเฉพาะตัวหรือสัญลักษณ์ของเขา เช่นทนายความวางท่าเหมือนกำลังซักลูกความอยู่ในศาล เวลาคุยกับลูกเมียที่บ้านจะกลายเป็นเรื่องน่าขบขันไป
4. ตลกเชิงเย้ยหยันสังคม แสดงถึงความเลวทรามบางอย่างของสังคม เมื่อเราได้เห็นเราก็จะรับรู้ความเลวทราบนั้นด้วยการหัวเราะเยาะออกมา เช่นคนบางคนที่แสดงว่าตนมีอุดมคติสูงส่งแต่กลับมีกริยาท่าทางบ้องตื้น
5. เหตุการณ์ที่มิได้คาดคิดไว้ก่อน เช่นใครคนหนึ่งเดินไปด้วยท่าทีสง่างามแล้วเกิดลื่นล้มอย่างไม่เป็นท่า มักเป็นอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย จะหัวเราะไม่ออก กลายเป็นนึกสงสาร
6. ความขัดแย้งกันระหว่างคุณสมบัติของบุคคลกับสถานการณ์ที่เขากำลังเกี่ยวข้องอยู่ เช่นคนขี้ขลาดแสดงท่าทางยโสโอหัง ไม่เกรงกลัวใคร พอต้องสู้รบจริง ๆ ถึงกับเป็นลม
7. เรื่องไรสาระหาความจริงไม่ได้ เป็นเรื่องตอบสนองความเป็นเด็กที่มีอยู่ในตัวของเรา (ซิกมันด์ ฟรอยด์)
8. การพยายามใช้ความพยายามมากกว่าปกติธรรมดา เช่นคนพูดติดอ่าง (ซิกมันด์ ฟรอยด์)
9. ความคลี่คลายของเหตุการณ์อย่างไม่คาดคิด เรื่องกำลังดำเนินไปจนเกือบถึงจุดสุดยอดของอารมณ์อยู่แล้ว
      เหตุการณ์แบบเบา ๆ ก็เกิดแทรกขึ้นอย่างไม่คาดคิด ทำให้เหตุการณ์ตึงเครียดนั้นผ่อนคลายลง
ผลก็คือมนุษย์จะรู้สึกได้รับการผ่อนคลายความตึงเครียดแล้วก็เกิดความรู้สึกขบขันขึ้นมาแทน เช่นผู้โดยสารหาตั๋วไม่เจอ ตกใจมากเมื่อคนตรวจตั๋วกำลังเดินเข้ามา แต่แล้วก็รู้สึกโล่งใจเพราะตั๋วหล่นอยู่ที่เท้า จึงยิ้มออกมาด้วยความโล่งใจ (สุเชาว์ พลอยชุม แปลและเรียบเรียง, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหากุฎราชวิทยาลัย, 2534, หน้า 60)
นอกจากนี้ยังมีนักคิดท่านอื่น คือ แบคซอง (Bergson) ได้แยกความขบขันออกเป็นสามประเภทคือ
1. ความขบขันในเหตุการณ์
2. ความขบขันในคำพูด คำแผลง สำบัดสำนวน การอ่านไม่ออก
3. ความขบขันในลักษณะท่าทาง ท่าทางไม่เข้ากับเหตุการณ์ เพราะติดนิสัยที่เป็นความเคยชิน
4. ความขบขันเชิงกระทบกระเทียบเปรียบเปรยจึงมีลักษณะเป็นการ "ทำให้เจ็บแสบหรืออับอาย" เกิดจากเจตนากลั่นแกล้งที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิตของทุกคน (ความประสงค์ร้าย)
5. ความขบขันเกิดจากความรู้สึกเกลียดชัง
6. ความขบขันเกิดจากความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ผลจากความรู้สึกสงสาร
7. ความขบขันจากเหตุการณ์แปลก ๆ แบบที่ไม่คาดคิด แบบโง่เขลา

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติของ เทคโนโยสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต

เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า การปฏิวัติมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่งเพื่อทำการเกษตร ต่อมาเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากที่เจมส์วัตต์ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ มนุษย์รู้จักนำเอาเครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตและช่วยในการสร้างยานพาหนะเพื่องานคมนาคมขนส่ง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมเมือง และเกิดรวมกันเป็นเมืองอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ในช่วง พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมาก เกิดการประยุกต์งานด้านต่าง ๆ เช่น ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต การจองตั๋ว การซื้อสินค้า การติดต่อส่งข้อมูล เช่น โทรสาร (facsimile) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)

ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชา คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก ต่อมา พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2541 ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชา และจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น
มีความจำเป็นเพียงไรที่จะต้องให้เยาวชนไทยเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เมื่อมีวิชาพื้นฐานอื่น ๆ มากมายที่ต้องจะเรียน เหตุผลสำคัญสำหรับตอบคำถามนี้ คือปัจจุบันความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ข้อมูลมากขึ้น
ตั้งแต่เช้าตรู่ นักเรียนอาจถูกปลุกด้วยเสียงนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัล และเริ่มวันใหม่ด้วยการฟังวิทยุที่ส่งกระจายเสียงทั่วประเทศพร้อมกัน รับประทานอาหารเช้าที่ปรุงจากเครื่องครัวที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เสร็จแล้วรีบมาโรงเรียน ก้าวเข้าลิฟต์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ติดต่อกับเพื่อนด้วยโทรศัพท์มือถือ คิดเลขด้วยเครื่องคิดเลขทันสมัย เรียนพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมประมวลคำ ตกเย็นกลับบ้านดูทีวีแล้วเข้านอน

กิจวัตรในชีวิตประจำวันของมนุษย์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น จนดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ทางด้านการผลิต ทางด้านอุตสาหกรรม และทางด้านพาณิชยกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ขับเคลื่อนเครื่องจักรก็มาจากพลังงานน้ำ พลังงานไอน้ำ และเปลี่ยนมาเป็นพลังงานจากน้ำมันขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าแทน ต่อมาการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีก โดยเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานระบบอัตโนมัติ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กลไกการควบคุมอัตโนมัติทำงาน เช่น การดำเนินงานผลิต การตรวจสอบ การควบคุม ฯลฯ การทำงานเหล่านี้อาศัยระบบการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์

อุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในระยะปีหรือสองปีข้างหน้า ยากที่จะคาดเดาว่า จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ขึ้นมาอีกบ้าง ทั้งนี้เพราะขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer )
มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ ได้แก่การพัฒนาการทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์ ในอนาคตอันใกล้ผู้จัดการเพียงคนเดียวอาจทำงานทั้งหมดโดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมทำการควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ และให้หุ่นยนต์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอีกต่อหนึ่ง

ในระดับประเทศ ประเทศไทยสั่งเข้าสินค้าเทคโนโลยีระดับสูงปริมาณมาก จึงต้องซื้อเทคนิควิธีการ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามามากตามไปด้วย ขณะเดียวกันเรายังขาดบุคลากรที่จะใช้เครื่องจักรเครื่องมือเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ การสูญเสียเงินตราเนื่องจากสาเหตุนี้จึงเกิดขึ้นมิใช่น้อย หลายโรงงานยังไม่กล้าใช้เครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพราะหาบุคลากรในการดำเนินการได้ยาก แต่ในระยะหลังค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นและการแข่งขันทางธุรกิจมีมากขึ้น จึงตกอยู่ในสภาวะจำยอมที่จะเอาเครื่องมือเหล่านั้นเข้ามา เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวให้ผลผลิตที่ดีกว่าของเดิมและมีราคาต้นทุนต่ำลงอีกด้วย
ในหลักการเป็นที่ยอมรับว่า ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเกือบทุกแขนงมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วยเสมอ ระบบการผลิตส่วนใหญ่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์แทรกเข้ามาเกือบทุกกระบวนการ ตั้งแต่การควบคุม การขนส่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การวัดและการบรรจุหีบห่อ ตลอดถึงการใช้เครื่องทุ่นแรงบางอย่าง
เครื่องมือที่ใช้วัดเกือบทุกประเภทมักมีไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การวัดอุณหภูมิ วัดความดัน วัดความเร็วการไหล วัดระดับของเหลว วัดปริมาณค่าที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพ
ในยุควิกฤตการณ์พลังงาน หลายประเทศพยายามลดการใช้พลังงาน โรงงานพยายามหาทางควบคุมพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อจะลดค่าใช้จ่ายลง จึงนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุม เช่น ควบคุมการเดินเครื่องให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณการใช้พลังงาน ควบคุมการจัดภาระงานให้เหมาะสม รวมถึงการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย

1.2 พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวัน
ก่อนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ประชากรโลกส่วนใหญ่จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นแกนหลัก มีเพียงบางส่วนยึดอาชีพบริการและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลเมืองในชนบทเป็นจำนวนมากละทิ้งถิ่นฐานเดิม จากการทำไร่ไถนามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรในภาคอุตสาหกรรมและการลดน้อยลงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ผู้ทำงานด้านบริการจะค่อย ๆ ขยับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับการมีผู้ทำงานด้านสารสนเทศ ที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่งเกิดขึ้น และเริ่มเมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อราว พ.ศ. 2500 เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใดนัก
เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศมากขึ้น เช่น เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องโทรสาร และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยการพัฒนาค้นคว้าวิจัยให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา

ระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีแบบสื่อประสม (multimedia) ซึ่งรวมข้อความ จำนวน ภาพ สัญลักษณ์ และเสียงเข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น จนนำหน้าสายอาชีพอื่นได้ทั้งหมดในไม่ช้านี้
สำนักงานเป็นแหล่งที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด เช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำบัญชีเงินเดือนและบัญชีรายรับรายจ่าย การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกหน่วยงานด้านการใช้เครื่องโทรศัพท์ เครื่องโทรสาร และการใช้ตู้ชุมสายโทรศัพท์ การจัดเตรียมเอกสารด้วยการใช้เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องถ่ายสำเนา และเครื่องคอมพิวเตอร์
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศจะค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้เครื่องระบบหนึ่งทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่าง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึงอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีดความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือเป็นเครื่องรับส่งโทรสารไปในตัว
การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ด้านข้อมูล และการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะข้อมูลและการติดต่อสื่อสารซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจจำนวนมาก หากการดำเนินงานธุรกิจใช้ข้อมูลซื่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่แฟ้ม การเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยงานให้ง่ายสะดวกและรวดเร็วขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว และถูกต้องดีขึ้น
ที่มา : http://sriyapai.thaisouth.com/WebIntranet/ebookm4/technof1.html

คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำจำกัดความว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่ เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์

การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ [ Analog Computer]
เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น
2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ [Digital Computer]
เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลัก แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 เท่านั้น โดยสัญลักษณ์ทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด เครื่องดิจิทัลคอมพิวเตอร์หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า คอมพิวเตอร์ กำลังได้รับความนิยมกันมากในขณะนี้ และพบเห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน


วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ได้แบ่งเป็น 5 ยุค ตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยี ดังนี้
1]. คอมพิวเตอร์ยุคแรก [อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2501]
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ ใช้กำลังไฟฟ้าสูง มีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน [Mark I], อีนิแอค [ENIAC], ยูนิแวค [UNIVAC]

2]. คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง [อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2506]
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ มีการสั่งงานโดยใช้ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่สามารถเข้าาใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

3]. คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม [อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2512]
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม [Integrated Circuit : IC] โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมาย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า โครงสร้างของคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อยๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่างๆ ทางด้านซอฟต์แวร์มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลายๆ อย่าง

4]. คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ [ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 - ปัจจุบัน]
เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก [Very Large Scale Integration : VLSI] เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่างๆ ได้ มีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมาก ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

5]. คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่างๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ [Artificial Intelligence : AI] ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้า และพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง



ที่มา: http://www.damrong.ac.th/webpage/computer1.htm

อินเตอร์เนต
อินเตอร์เนต : คือ ระบบเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อมระบบต่างๆ ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนห้องสมุด สาธารณะชน ขนาดมหึมา ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ก็ว่าได้ ที่มีข้อมูลต่างๆมากมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการ ค้นคว้าวิจัย หรือ เพื่อความ บันเทิง เป็นต้น
อินเตอร์เนต เป็นคำ ที่หลายคนคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ นอกจากนั้นมัน ไม่ใช่เป็นแค่ระบบ เน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ธรรมดา เท่านั้น แต่มันเป็น อภิมหาเน็ตเวิร์กโลก ( เน็ตเวิร์ก ที่เชื่อต่อกันหลายๆ เน็ตเวิร์ก จาก ทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ) ที่ๆ เสมือนถนนที่จะพาผู้ที่เป็นสมาชิกบน เน็ตเวิร์ก ไปได้ ทุกแห่งทุกหนบนโลก อินเตอร์เนต
กว่าจะมาเป็น อินเตอร์เนต
อินเตอร์เนต มีการพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต ( ARPAnet หรือที่เรียกกัน สั้นๆว่า อาร์พา ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ของกระทรวงกลาโหม ที่ใช้กันในงานวิจัยทางด้าน การทหาร ( ARPA : Advanced Research Project Agency ) จนกระทั่ง มาถึงในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่เครือข่าย ทดลอง ของ อาร์พา ประสบกับความสำเร็จเป็นอย่างมาก ก็ได้มีการปรับปรุง หน่วยงาน จาก อาร์พา มาเป็น ดาร์พา ( Defence Comunication Agency ) และ ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ต ก็ได้แบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายด้วยกัน คือ เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่อ อาร์พาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต ( MILNET : Military Network ) ซึ่งมีการเชื่อมต่อ โดยใช้ โพรโตคอล TCP / IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็น ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 โดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของ อเมริกา NSF ได้ให้เงิน ทุนในการสร้าง ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จำนวน 6 แห่ง และให้ใช้ชื่อว่า NSFNET แลพจนกระทั่งพอมาถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ต รองรับ ภาระที่เป็น กระดูกสันหลัง ( BackBone ) ของระบบ ไม่ได้ จึงได้ยุติ อาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และ เครือข่ายอื่นๆ แทน จนมาเป็นเครือข่ายขนาดมหึมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และเรียก เครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เนต ( Internet ) โดย เครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ปัจจุบันนี้ได้มี เครือข่ายย่อย มากถึง 25,000 เครือข่ายเลยทีเดียว

ที่มา :http://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=2312