เป้าหมายของการวิจัย นงลักษณ์ วิรัชชัย (2543 : 48) ได้กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญของการวิจัย คือ เพื่อบรรยาย (describe) อธิบาย (explain) ทำนาย (predict) หรือควบคุม (control) ปรากฏการณ์ต่างๆอันจะช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์และสังคมให้ดีขึ้น และนิศารัตน์ ศิลปเดช (2542 : 7) ได้เสนอจุดมุ้งหมายของการวิจัยไว้ 3 ข้อ ดังนี้
1. เพื่อการแก้ปัญหา (Problem Solution) ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักจะต้องมีปัญหาในด้านต่างๆเกิดขึ้นอยู่เสมอ การมีชีวิตอยู่รอดได้ หมายถึง การที่มนุษย์สามารถแก้ไขหรือเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น
2. เพื่อสร้างทฤษฎี (Theory Formulating) วัตถุประสงค์ที่มนุษย์สร้างทฤษฎีขึ้นก็เพื่อนำไปอ้างอิง (Generalization) การอธิบาย (Explanation) การทำนาย (Prediction) และการควบคุม (Control) ปรากฏการณ์ต่างๆทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมมนุษย์
3. เพื่อการตรวจสอบความรู้และทฤษฎี (Theory Testing) โดยที่มนุษย์ต้องการความแน่ใจว่า ความรู้หรือทฤษฎีต่างๆที่สร้างขึ้นมานั้น ยังสามารถนำไปใช้เช่นเดิมแม้ว่าเวลาจะผ่านไป หรือสิ่งต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปภายให้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติก็ตาม
Meredith D. Gall Walter R. Borg and Joyce Pi Gall (1992 : 4-12) ได้กล่าวถึงความรู้หรือประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยทางการศึกษาว่าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้
1. เพื่อพรรณนาความหรือบรรยาย (Description) การทำวิจัยเพื่อบรรยายสภาพธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ทางสังคม หรือความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น บรรยายสภาพการณ์ต่างๆทางการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นอย่างไร
2. เพื่อทำนาย (Prediction) การวิจัยเพื่อทำนายปรากฏการณ์ทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้น เช่น X เป็นตัวทำนายเหตุการณ์ Y หรือไม่ หรืออย่างเช่นการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อจะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการศึกษา
3. เพื่อปรับปรุง (Improvement) การวิจัยเพื่อปรับปรุงเป็นการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงสภาพการศึกษาให้ดีขึ้น
4. เพื่ออธิบาย (Explanation) การวิจัยเพื่ออธิบายสภาพการณืท่างการศึกษา
สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ เพื่อบรรยาย อธิบาย ทำนาย แลควบคุมสภาพการณ์ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
1. เพื่อการแก้ปัญหา (Problem Solution) ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักจะต้องมีปัญหาในด้านต่างๆเกิดขึ้นอยู่เสมอ การมีชีวิตอยู่รอดได้ หมายถึง การที่มนุษย์สามารถแก้ไขหรือเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น
2. เพื่อสร้างทฤษฎี (Theory Formulating) วัตถุประสงค์ที่มนุษย์สร้างทฤษฎีขึ้นก็เพื่อนำไปอ้างอิง (Generalization) การอธิบาย (Explanation) การทำนาย (Prediction) และการควบคุม (Control) ปรากฏการณ์ต่างๆทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมมนุษย์
3. เพื่อการตรวจสอบความรู้และทฤษฎี (Theory Testing) โดยที่มนุษย์ต้องการความแน่ใจว่า ความรู้หรือทฤษฎีต่างๆที่สร้างขึ้นมานั้น ยังสามารถนำไปใช้เช่นเดิมแม้ว่าเวลาจะผ่านไป หรือสิ่งต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปภายให้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติก็ตาม
Meredith D. Gall Walter R. Borg and Joyce Pi Gall (1992 : 4-12) ได้กล่าวถึงความรู้หรือประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยทางการศึกษาว่าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้
1. เพื่อพรรณนาความหรือบรรยาย (Description) การทำวิจัยเพื่อบรรยายสภาพธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ทางสังคม หรือความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น บรรยายสภาพการณ์ต่างๆทางการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นอย่างไร
2. เพื่อทำนาย (Prediction) การวิจัยเพื่อทำนายปรากฏการณ์ทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้น เช่น X เป็นตัวทำนายเหตุการณ์ Y หรือไม่ หรืออย่างเช่นการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อจะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการศึกษา
3. เพื่อปรับปรุง (Improvement) การวิจัยเพื่อปรับปรุงเป็นการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงสภาพการศึกษาให้ดีขึ้น
4. เพื่ออธิบาย (Explanation) การวิจัยเพื่ออธิบายสภาพการณืท่างการศึกษา
สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ เพื่อบรรยาย อธิบาย ทำนาย แลควบคุมสภาพการณ์ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น