วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

                                                                                 เป้าหมายของการวิจัย          นงลักษณ์ วิรัชชัย (2543 : 48) ได้กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญของการวิจัย คือ เพื่อบรรยาย (describe) อธิบาย (explain) ทำนาย (predict) หรือควบคุม (control) ปรากฏการณ์ต่างๆอันจะช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์และสังคมให้ดีขึ้น และนิศารัตน์ ศิลปเดช (2542 : 7) ได้เสนอจุดมุ้งหมายของการวิจัยไว้ 3 ข้อ ดังนี้
          1. เพื่อการแก้ปัญหา (Problem Solution) ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักจะต้องมีปัญหาในด้านต่างๆเกิดขึ้นอยู่เสมอ การมีชีวิตอยู่รอดได้ หมายถึง การที่มนุษย์สามารถแก้ไขหรือเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น
          2. เพื่อสร้างทฤษฎี (Theory Formulating) วัตถุประสงค์ที่มนุษย์สร้างทฤษฎีขึ้นก็เพื่อนำไปอ้างอิง (Generalization) การอธิบาย (Explanation) การทำนาย (Prediction) และการควบคุม (Control) ปรากฏการณ์ต่างๆทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมมนุษย์
          3. เพื่อการตรวจสอบความรู้และทฤษฎี (Theory Testing) โดยที่มนุษย์ต้องการความแน่ใจว่า ความรู้หรือทฤษฎีต่างๆที่สร้างขึ้นมานั้น ยังสามารถนำไปใช้เช่นเดิมแม้ว่าเวลาจะผ่านไป หรือสิ่งต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปภายให้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติก็ตาม
           Meredith D. Gall Walter R. Borg and Joyce Pi Gall (1992 : 4-12) ได้กล่าวถึงความรู้หรือประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยทางการศึกษาว่าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้
          1. เพื่อพรรณนาความหรือบรรยาย (Description) การทำวิจัยเพื่อบรรยายสภาพธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ทางสังคม หรือความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น บรรยายสภาพการณ์ต่างๆทางการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นอย่างไร
          2. เพื่อทำนาย (Prediction) การวิจัยเพื่อทำนายปรากฏการณ์ทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้น เช่น X เป็นตัวทำนายเหตุการณ์ Y หรือไม่ หรืออย่างเช่นการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อจะทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการศึกษา
          3. เพื่อปรับปรุง (Improvement) การวิจัยเพื่อปรับปรุงเป็นการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงสภาพการศึกษาให้ดีขึ้น
          4. เพื่ออธิบาย (Explanation) การวิจัยเพื่ออธิบายสภาพการณืท่างการศึกษา
       
          สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ เพื่อบรรยาย อธิบาย ทำนาย แลควบคุมสภาพการณ์ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น


การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์

การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์
1.      เชิงรุก
o    ต้องรู้ว่า เราต้องการอะไร
o    พูดกับใคร บรรยากาศเหมาะสมหรือไม่
o    ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีพร้อม ๆ กัน
o    บุคลิกภาพดี มาดต้องตา วาจาต้องใจ
o    ภายในเลิศล้ำ พฤติกรรมมีเสน่ห์
1.      เชิงรับ
o    มาดต้องตา วาจาต้องใจ
o    ยิ้มแย้ม อบอุ่นเป็นทุนที่มีค่า
o    ฟังมากกว่าพูด
o    รู้ว่าปัญหาคืออะไร
o    พูดอย่างมีศิลปะ
o    ดูกาลเทศะ มีไหวพริบปฏิภาณ
                                                 ของแข็งอสัณฐาน (amorphous solid)
     ของแข็งที่ไม่มีรูปผลึกหรือไม่มีรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน (ไม่มีการจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบของอนุภาคในของแข็งนั้น ๆ) มีจุดหลอมเหลวกว้าง (จริง ๆ แล้วควรจะเรียกว่าช่วงหลอมเหลว) กล่าวคือเมื่อทำการให้ความร้อนกับของแข็งอสัณฐานจนถึงอุณหภูมิหนึ่งของแข็งจะค่อย ๆ อ่อนตัวลงแล้วจึงเหลว ไหลไปมาได้ เช่น แก้ว ยาง พลาสติก สำหรับสมบัติบางอย่างของของแข็งอสัณฐานเช่น ดรรชนีหักเห การนำไฟฟ้า และอื่น ๆ เหมือนกันหมดทุกทิศทาง ลักษณะที่ไม่ขึ้นกับทิศทางนี้เรียกว่า ไอโซโทรปี (isotropy) 
       ในที่นี้จะกล่าวถึงของแข็งที่เป็นผลึกเท่านั้น โดยจะอธิบายในรูปของแลตทิซ ( lattice) ซึ่งเป็นการจัดเรียงแบบสามมิติในรูปของจุด (โดยให้จุดเป็นตัวแทนของอนุภาค) ซึ่งป็นรูปแบบซ้ำ ๆ กัน และจุดเหล่านี้คือจุดแลตทิซ (lattice point) จุดแลตทิซจะต้องมีสิ่งแวดล้อมเหมือนกับจุดอื่น ๆ ในทุกทิศทางที่เหมือนกัน โดยหน่วยซ้ำ ๆ กันที่เล็กที่สุดนี้จะเรียกว่า หน่วยเซลล์ ( unit cell)
ความสำคัญของดิน

.......... ดินมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในโลกนี้และมีความสำคัญต่อสภาพสิ่งแวดล้อมโลก สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ต้องอาศัยดินในการดำรงชีพ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม พืชเจริญเติบโตในดิน รากพืชดูดอาหารและน้ำจากดินโดยตรง ซึ่งจะเห็นพืชเหล่านี้ได้ทั่ว ๆ ไป พืชบางชนิดดูเหมือนอยู่ในอากาศ แต่รากพืชบางส่วนเกาะอยู่กับต้นพืชบางชนิด รากพืชเหล่านี้ก็ได้อาหารและน้ำจากต้นพืชที่เกาะอยู่ เช่น เถาวัลย์ กล้วยไม้น้ำ นับว่าเป็นการอาศัยพึ่งพิงดินโดยทางอ้อม สัตว์ดำรงชีพโดยอาศัยดินทางอ้อม พืชเป็นแหล่งอาหาร พลังงาน น้ำ ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และอากาศที่บริสุทธิ์ ที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีพของสัตว์ โดยเฉพาะมนุษย์ ซึ่งได้แหล่งอาหารและพลังงานจากพืช และสัตว์ที่อาศัยพืชหรือสัตว์อื่นเป็นอาหาร มนุษย์นำผลผลิตของพืชมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ฝ้าย นุ่น ฯลฯ มนุษย์นำต้นไม้ใหญ่มาดัดแปลงทำเป็นบ้านที่อยู่อาศัย เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดำรงชีพ ต้นไม้ พืชพรรณต่าง ๆ ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้วปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์และสัตว์ชั้นสูงทุกชนิดบนดินและในน้ำ หากโลกนี้ไม่มีพืชก็ไม่มีก๊าซออกซิเจน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้คงมีชีวิตอยู่ไม่ได้ หากไม่มีดินก็คงไม่มีพืชพรรณ และต้นไม้ใหญ่ที่จะทำหน้าที่เหล่านี้ ฉะนั้นดินจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกนี้

การแสดงบทตลก

     การแสดงบทตลกแตกต่างจากการแสดงบทชีวิตจริง นักแสดงจำเป็นต้องใช้พลังงานในการแสดงสูงมาก เหตุการณ์ต่าง ๆ ในสถานการณ์ขับขันในภาพยนตร์ตลกจะไม่มีความเป็นจริงเหมือนอย่างที่ถูกกำหนดไว้ในภาพยนตร์ชีวิต นักแสดงตลกมักจะเป็นคนที่มีความคิดแบบตลก ๆ สนุกสนานติดตัวอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นคนช่างเสียดสี เหน็บแนม ถากถางเยาะเย้ยชะตาชีวิต
     ดร.จี ศรีนิวาสัน ได้แจกแจงสาเหตุของความขบขัน ไว้ในหนังสือ สุนทรียศาสตร์ จำนวนเก้าข้อดังนี้
1. ความผิดกาละเทศะ เช่นในพิธีกรรมอันเคร่งเครียดกับความซุกซนไร้เดียงสาของเด็ก
2. ความผิดปกติธรรมดา เช่นท้องโตกว่าความเป็นจริง
3. ลักษณะท่าทางหรือคุณสมบัติบางอย่างของคนบางคน ลักษณะเช่นนี้จะกลายเป็นเรื่องขบขันก็ต่อเมื่อเราประมวลจุดเด่น ๆ ของบุคคลนั้นมาแสดงให้เห็นเป็นลักษณะเฉพาะตัวหรือสัญลักษณ์ของเขา เช่นทนายความวางท่าเหมือนกำลังซักลูกความอยู่ในศาล เวลาคุยกับลูกเมียที่บ้านจะกลายเป็นเรื่องน่าขบขันไป
4. ตลกเชิงเย้ยหยันสังคม แสดงถึงความเลวทรามบางอย่างของสังคม เมื่อเราได้เห็นเราก็จะรับรู้ความเลวทราบนั้นด้วยการหัวเราะเยาะออกมา เช่นคนบางคนที่แสดงว่าตนมีอุดมคติสูงส่งแต่กลับมีกริยาท่าทางบ้องตื้น
5. เหตุการณ์ที่มิได้คาดคิดไว้ก่อน เช่นใครคนหนึ่งเดินไปด้วยท่าทีสง่างามแล้วเกิดลื่นล้มอย่างไม่เป็นท่า มักเป็นอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย จะหัวเราะไม่ออก กลายเป็นนึกสงสาร
6. ความขัดแย้งกันระหว่างคุณสมบัติของบุคคลกับสถานการณ์ที่เขากำลังเกี่ยวข้องอยู่ เช่นคนขี้ขลาดแสดงท่าทางยโสโอหัง ไม่เกรงกลัวใคร พอต้องสู้รบจริง ๆ ถึงกับเป็นลม
7. เรื่องไรสาระหาความจริงไม่ได้ เป็นเรื่องตอบสนองความเป็นเด็กที่มีอยู่ในตัวของเรา (ซิกมันด์ ฟรอยด์)
8. การพยายามใช้ความพยายามมากกว่าปกติธรรมดา เช่นคนพูดติดอ่าง (ซิกมันด์ ฟรอยด์)
9. ความคลี่คลายของเหตุการณ์อย่างไม่คาดคิด เรื่องกำลังดำเนินไปจนเกือบถึงจุดสุดยอดของอารมณ์อยู่แล้ว
      เหตุการณ์แบบเบา ๆ ก็เกิดแทรกขึ้นอย่างไม่คาดคิด ทำให้เหตุการณ์ตึงเครียดนั้นผ่อนคลายลง
ผลก็คือมนุษย์จะรู้สึกได้รับการผ่อนคลายความตึงเครียดแล้วก็เกิดความรู้สึกขบขันขึ้นมาแทน เช่นผู้โดยสารหาตั๋วไม่เจอ ตกใจมากเมื่อคนตรวจตั๋วกำลังเดินเข้ามา แต่แล้วก็รู้สึกโล่งใจเพราะตั๋วหล่นอยู่ที่เท้า จึงยิ้มออกมาด้วยความโล่งใจ (สุเชาว์ พลอยชุม แปลและเรียบเรียง, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหากุฎราชวิทยาลัย, 2534, หน้า 60)
นอกจากนี้ยังมีนักคิดท่านอื่น คือ แบคซอง (Bergson) ได้แยกความขบขันออกเป็นสามประเภทคือ
1. ความขบขันในเหตุการณ์
2. ความขบขันในคำพูด คำแผลง สำบัดสำนวน การอ่านไม่ออก
3. ความขบขันในลักษณะท่าทาง ท่าทางไม่เข้ากับเหตุการณ์ เพราะติดนิสัยที่เป็นความเคยชิน
4. ความขบขันเชิงกระทบกระเทียบเปรียบเปรยจึงมีลักษณะเป็นการ "ทำให้เจ็บแสบหรืออับอาย" เกิดจากเจตนากลั่นแกล้งที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิตของทุกคน (ความประสงค์ร้าย)
5. ความขบขันเกิดจากความรู้สึกเกลียดชัง
6. ความขบขันเกิดจากความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ผลจากความรู้สึกสงสาร
7. ความขบขันจากเหตุการณ์แปลก ๆ แบบที่ไม่คาดคิด แบบโง่เขลา